กระแสความนิยมเว็บสังคมออนไลน์ "เฟซบุ๊ก" ทำให้เกิดโรค หรืออาการผิดปกติด้านพฤติกรรมชนิดใหม่ ที่นักจิตวิทยาเรียกว่า
"เฟซบุ๊ก แอดดิกชั่น ดิสออร์เดอร์" (เอฟเอดี)
เมื่อเดือนเศษๆ ที่ผ่านมานี่เอง สำนักข่าวใหญ่ "ซีเอ็นเอ็น" เพิ่งทำสกู๊ปข่าวพิเศษเกี่ยวกับอาการ "เสพติดเฟซบุ๊ก" การเล่นเว็บเฟซบุ๊กดังกล่าว
พร้อมกับระบุว่า ปัจจุบันมีชาวอเมริกันต้องเข้ารับการบำบัด "เอฟเอดี" มากขึ้นตามลำดับ
เนื่องจาก ทุ่มเทเวลาให้กับ "โลกเสมือน" ในเฟซบุ๊ก มากกว่าโลก สภาพแวดล้อม หรือสังคมรอบตัวจริงๆ!
พอลลา ไพล์ นักจิตวิทยาแก้ปัญหาครอบครัวในรัฐนอร์ธแคโรไลนา เปิดเผยผ่านซีเอ็นเอ็น ว่า
ตัวเฟซบุ๊กเองนั้นไม่ใช่ปัญหา แต่ "คนเล่น-ผู้ใช้" ต่างหาก ที่ควบคุมพฤติกรรมตนเองไม่ได้
เพราะหลงเพริศจมจ่อมอยู่กับโลกแห่งความฝัน-ความไม่จริง -ความฉาบฉวยในสังคมออนไลน์
ด้าน โจอันนา ลิพารี นักจิตวิทยามหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย บอกว่า ทุกๆ คนในเฟซบุ๊กมีเป้าหมายอยากหา "เพื่อน" จึงพยายาม นำเสนอแต่แง่มุมความสนุกสนาน สดใจ ร่าเริง มีความสุข เพื่อดึงดูดอีกฝ่าย
ถ้าใครหลงผิด ไม่เข้าใจประเด็นนี้ก็อาจ "เสียคน" เพราะเฟซบุ๊กได้ง่ายๆ
ลิพารีแนะนำวิธีตรวจตัวเอง 5 ประการว่า เรามีอาการเสพติดเฟซบุ๊กหรือไม่ ดังนี้
1.ยอมอดนอนเพื่อเพิ่มเวลาเล่นเฟซบุ๊ก
2.เสียเวลาเล่นเฟซบุ๊กมากกว่าวันละ 1 ชั่วโมงขึ้นไป
3.คลั่งไคล้หลงใหลการติดต่อกับ "คนรักเก่า" ผ่านเฟซบุ๊ก เช่น คนรักสมัยเรียน จนอาจสร้างปัญหากับครอบครัวปัจจุบัน
4.เลือกใช้เวลาท่องเฟซบุ๊ก มากกว่าการตั้งใจทำงาน
และข้อสุดท้ายครับ รู้สึกกระวนกระวายใจ เครียด และวิตกกังวลเวลาต้องหยุดเล่นเฟซบุ๊ก
Next
« Prev Post
« Prev Post
Previous
Next Post »
Next Post »
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
EmoticonEmoticon