10 ประเทศ ที่อาจไม่เคยรู้จักมาก่อน‏

10 ประเทศ ที่อาจไม่เคยรู้จักมาก่อน‏

1. Vanuatu
Vanuatu มีประชากร 243,300 คน ตั้งอยู่ที่มหาสมุทร South Pacific อาหารประจำชาติคือ ปลา กว่า 90% ของชาว Vanuatu รับประทานและหารายได้จากปลาเป็นหลัก  80% ของประชากรอาศัยอยู่แถบชนบท ปลูกผักสวนครัวกินเอง บริโภคอาหารที่มีตามท้องถิ่น สิ่งเล็กๆ ที่ดึงดูดใจนักท่องเที่ยวของที่นี่ คือ การดำน้ำ และบรรยากาศอันแสนสงบ

2. Nauru
Nauru เคยเป็นอาณานิคมของจักรวรรดิโรมัน และมีชื่อเล่นน่ารักว่า “เกาะแสนสุข” มีประชากรเพียง 14,019 คน ตั้งอยู่ที่ Micronesia ในเขต South Pacific ขนาดของ Nauru เล็กมาก จนติดอันดับประเทศที่มีขนาดเล็กที่สุดเป็น อันดับ 3 ของโลก ที่นี่จะมีฤดูมรสุม ระหว่าง พฤศจิกายน – กุมภาพันธ์ เป็นช่วงต้องห้ามสำหรับการเล่นน้ำ แต่จะเป็นฤดูกาลที่คนในประเทศจะช่วยกันเก็บกักน้ำฝนมาใช้ประโยชน์ให้ได้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้ Nauru เป็นประเทศแห่งการกีฬา และกีฬาที่ได้รับความนิยมมากที่สุด คือ ฟุตบอล ถึงแม้ว่าจะเป็นเพียงประเทศเล็กๆ แต่ Nauru ก็มีการจัดแข่งขันฟุตบอลประจำปี ซึ่งมี 7 ทีมหลักเข้าแข่งขัน

3. Tuvalu
Tuvalu มีประชากร 12,373 คน มี Queen Elizabeth ที่ 2 เป็นประมุขแห่งรัฐ ครั้งหนึ่งจึงเป็นที่รู้จักกันในชื่อ Ellice Islands เป็นเกาะโพลีนีเชีย ตั้งอยู่ที่มหาสมุทร Pacific เชื่อมต่อระหว่างฮาวายและออสเตรเลีย Tuvalu ถือเป็นประเทศที่สงบสุข ปราศจากกองกำลังทหาร ไม่ต้องสิ้นเปลืองงบประมาณด้านป้องกันประเทศ Tuvalu มีขนาดเล็กเป็นอันดับ 4 ของโลก

4. Comoros
Comoros ประกอบด้วยประชากร 798,000 คน เป็นเกาะเชื้อชาติแอฟริกัน ตั้งอยู่ระหว่าง Mozambique และ Madagascar บนคาบสมุทรอินเดีย เกาะ Comoros เคยเป็นอาณานิคมของฝรั่งเศส และปัจจุบันก็มีชาว Comoronian กว่า 3 แสนคน ที่อาศัยอยู่ในประเทศฝรั่งเศส ศาสนาหลักของประเทศนี้คือ อิสลาม 98% ของประชากรเป็นชาวมุสลิม แม้ว่าภาษาหลักที่ใช้จะเป็นภาษาฝรั่งเศส แต่ Comoros ก็มีภาษาประจำชาติ คือ Comoronian หรือ Shikomor

5. Tokelau
Tokelau มีประชากร 1,416 คน เป็นดินแดนที่ไม่ปกครองตนเองของนิวซีแลนด์ ซึ่งสร้างจากเกาะ 3 เกาะ เป็นประเทศที่มีขนาดเล็กมากจนไม่จำเป็นต้องมีเมืองหลวง Tokelau เป็นศัพท์โพลีนีเชีย หมายถึง ลมเหนือ มีระบบเศรษฐกิจที่เล็กที่สุดในโลก ซึ่งทำให้ Tokelau ต้องพึ่งพิงการค้าของนิวซีแลนด์ 96% ของประชาชนทั้งประเทศเป็นคริสเตียน และเป็นประชากรหญิงถึง 57%

6. Pitcairn Islands
Pitcairn มีประชากร เพียง 50 คน มีชื่อเรียกประเทศมากมาย ตั้งแต่ Pitcairn, Henderson, Ducie และOeno Islands ประเทศแห่งนี้เกิดจากการก่อร่างสร้างตัวของแก่งภูเขาไฟในแถบมหาสมุทร Pacific ทางตอนใต้ ภาษาท้องถิ่นใช้ทั้งภาษาอังกฤษและ Tahitian โบสถ์ที่ Pitcairn ถูกสั่งปิดเนื่องจากมีคนเข้าประจำแค่ 8 คน มีสถานบันเทิงเพียง 2 แห่ง และมีกฎหมายห้ามสูบบุหรี่ เต้นรำ และดื่มแอลกอฮอล์ในที่สาธารณะ

7. Nagorno-Karabakh Republic
Nagorno-Karabakh Republic ประกอบด้วยพลเมือง 110,000 คน เป็นสาธารณรัฐอิสระที่ตั้งอยู่ระหว่าง Armenia และ Azerbaijan สงคราม Nagorno-Karabakh ในช่วงปี ค.ศ. 1991-1994 ได้ทิ้งร่องรอยอาณาเขตเหมืองแร่ที่อุดมสมบูรณ์ที่สุดแห่งสหภาพโซเวียตเอาไว้  95% ของประชากรที่นี่เป็นชาว Armenian ที่เหลือเป็นชาว Greek และ Kurd

8. Palau
Palau หรือเรียกอีกชื่อว่า Belau มีประชากรอาศัยอยู่ 20,000 คน ตั้งตนเป็นอิสระในปี ค.ศ. 1994 เป็นประเทศแห่งเกาะ อยู่บนคาบสมุทรแปซิฟิก ถัดจากฝั่งตะวันออกของฟิลิปปินส์ ประมาณ 500 ไมล์ Palau เกิดจากคณะมนตรีภาวะทรัสตีแห่งสหประชาชาติ และตั้งตนเป็นอิสระในยุค 90 ถือเป็นหนึ่งในประเทศที่เกิดช้าสุดในโลก เมื่อก่อนจะถูกเรียกว่า Carolines หรือ Pelew อาณาเขตแห่งนี้ประกอบด้วยเกาะเล็กๆ กว่า 200 เกาะ

9. São Tomé and Príncipe
São Tomé and Príncipe มีพลเมือง 163,000 คน ชื่ออย่างเป็นทางการว่า สาธารณรัฐประชาธิปไตย São Tomé and Príncipe เป็นชนชาติแห่งเกาะ ใช้ภาษาโปรตุเกสเป็นหลัก ตั้งอยู่บนอ่าว Guinea ค่อนมาทางตะวันตกของเส้นศูนย์สูตรจากชายฝั่งแอฟริกา นักสำรวจชาวโปรตุเกสตั้งชื่อเกาะว่า São Tomé and Príncipe เนื่องจากค้นพบเกาะแห่งนี้ในวันเฉลิมฉลองของ Saint Thomas เกาะนี้ถือเป็นประเทศที่เล็กที่สุดในโลก โดยที่ไม่เคยเป็นอาณานิมคมของประเทศใดมาก่อน

10. Marshall Islands
Marshall มีประชากร 62,000 คน ประกอบด้วยเกาะรูปวงแหวนและเกาะน้อยใหญ่ใจกลางมหาสมุทรแปซิฟิก ตั้งอยู่ทางตอนเหนือของ Nauru และทางตอนใต้ของ Wake Island อาณานิคมของสหรัฐอเมริกา ประเทศ Marshall มีเนื้อที่เพียง 70 ตารางไมล์ และเป็นส่วนหนึ่งของอาณานิคมแห่งหมู่เกาะแปซิฟิก (ปกครองโดยอเมริกา) ด้วยความที่มี เกาะมากมาย และเกาะรูปวงแหวนที่ใหญ่ที่สุดอย่าง Kwajalein รวมถึงความอุดมสมบูรณ์ของแนวหิน ทำให้ Marshall ตั้งตนเป็นอิสระในปี ค.ศ. 1986

Previous
Next Post »