นอนกรน หลับลึก หรือ หลับร้าย?‏

นอนกรน หลับลึก หรือ หลับร้าย?‏

นอนกรน หลับลึก หรือ หลับร้าย?‏
นอนกรน หลับลึก หรือ หลับร้าย?‏
หากคุณเป็นคนหนึ่งที่มีอาการเหล่านี้

  • รู้สึกนอนไม่อิ่ม นอนไม่เพียงพอหรืออ่อนเพลีย แม้ว่าจะนอนในชั่วโมงที่เพียงพอแล้วก็ตาม
  • รู้สึกง่วงนอนในเวลาที่ไม่ควรง่วง เช่น นั่งสัปหงกในที่ทำงาน หรือในระหว่างขับรถ
  • ตื่นขึ้นมาตอนเช้าไม่สดชื่นทั้งที่นอนเต็มที่ หรือมีอาการปวดศีรษะร่วมด้วย
  • หงุดหงิด อารมณ์เสียง่ายกว่าปกติ รู้สึกว่าการจดจำลดลง
  • หรือถ้าเป็นเด็ก ก็มักจะนอนซักพักแล้วสะดุ้งตื่น นอนกระสับกระส่าย ปัสสาวะรดที่นอน หรืออาจมีปัญหาการเรียน


ภาวะนอนกรน ไม่ได้สร้างปัญหาแค่เสียงรบกวนอันน่ารำคาญเท่านั้น แต่อันตรายจากการนอนกรนอาจรุนแรงถึงขั้นเสียชีวิตได้

ผลกระทบจากการนอนกรน ซึ่งทำให้ผู้ป่วยหยุดหายใจบางขณะ สร้างปัญหาเกี่ยวกับสุขภาพและการดำเนินชีวิตประจำวันมากมาย เช่น ง่วงในเวลากลางวัน สมาธิสั้น อ่อนเพลียเรื้อรัง หงุดหงิดอารมณ์เสีย ทำให้ประสิทธิภาพในการทำงานลดลง ผู้ที่นอนกรนยังมีโอกาสเสี่ยงในการเป็นหลอดเลือดสมองแตก สมองเสื่อม โรคหัวใจขาดเลือด โรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง หย่อนสมรรถภาพทางเพศ และส่งผลต่อความสามารถในการจดจำและการใช้ความคิดอีกด้วย นอกจากนี้ ผู้ที่กรนเสียงดังๆ ยังรบกวนคู่นอนทำให้นอนไม่หลับได้

นอนกรนแบบไหนที่อาจอันตรายถึงชีวิต การนอนกรนที่มีภาวะการหายใจที่ผิดปกติและหยุดหายใจขณะหลับ จะเป็นอันตรายต่อร่างกายผู้ป่วยมาก ซึ่งผู้ป่วยที่มีทางเดินหายใจแคบมากในเวลาหลับ เมื่อยังหลับไม่สนิทจะมีเสียงกรนที่สม่ำเสมอ แต่เมื่อหลับสนิทจะเกิดการอุดกั้นทางเดินหายใจ มีเสียงกรนที่ติดสะดุดไม่สม่ำเสมอ โดยจะมีช่วงกรนเสียงดัง-ค่อยสลับกันเป็นช่วงๆ และจะกรนดังขึ้นเรื่อยๆ โดยมีช่วงหยุดกรนไปชั่วระยะหนึ่ง ซึ่งเป็นช่วงที่เกิดการหยุดหายใจ ผู้ป่วยจะมีอาการหายใจติดขัดเหมือนคนสำลักน้ำ และจะทำให้ระดับออกซิเจนในเลือดลดลง เป็นผลให้ขาดออกซิเจนไปเลี้ยงสมองระหว่างนั้นอาจทำให้เซลล์สมองเสื่อมได้

การตรวจการนอนกรนทำได้อย่างไร

1. ตรวจร่างกายโดยแพทย์ แพทย์จะตรวจร่างกายอย่างละเอียดทางหู คอ จมูก เพราะสาเหตุเริ่มต้นอาจพบความผิดปกติตั้งแต่จมูก โพรงจมูก หลังโพรงจมูก บริเวณเพดานอ่อน ช่องปาก ต่อมทอนซิล โคนลิ้น เป็นต้น

2. ตรวจพิเศษในท่านอน โดยกล้องส่องตรวจหลอดลมชนิดอ่อนตัวได้ (Flexible fiberoptic laryngoscope) บริเวณโพรงหลังจมูก ตำแหน่งเพดานอ่อนและโคนลิ้น (เฉพาะคนไข้บางราย)

3. ตรวจด้วยการเอกซเรย์ เพื่อหาตำแหน่งที่ตีบแคบของทางเดินหายใจส่วนบน

4. การตรวจความผิดปกติจากการนอน (Polysomnography : PSG / Sleep Lab)เป็นการตรวจการหายใจที่สัมพันธ์กับการทำงานของหัวใจและสมองขณะหลับ

การตรวจการนอนหลับนี้ประกอบด้วย

- การตรวจวัดคลื่นสมอง เพื่อวัดระดับความลึกของการนอนหลับ และการตรวจวัดการทำงานของกล้ามเนื้อขณะหลับ หลับได้สนิทมากน้อยแค่ไหน ประสิทธิภาพการนอนดีเพียงใด ในบางคนที่มีลมชักขณะหลับ

- การตรวจดูการเปลี่ยนแปลงของคลื่นไฟฟ้าหัวใจขณะหลับ เพื่อดูว่าหัวใจมีการเต้นผิดจังหวะ ที่อาจมีอันตรายได้หรือไม่ มากน้อยเพียงใด

-การ ตรวจวัดความอิ่มตัวของระดับออกซิเจนในเลือดแดงขณะหลับ เพื่อตรวจดูว่าร่างกาย มีการขาดออกซิเจนหรือไม่ในขณะหลับ แล้วหยุดหายใจหรือหายใจเบา

- การตรวจวัดลมหายใจ ที่ผ่านเข้าออกทางจมูกและปาก และการตรวจวัดการเคลื่อนไหวของกล้ามเนื้อทรวงอกและกล้ามเนื้อหน้าท้องที่ใน การหายใจ ดูว่ามีการหยุดหายใจหรือเปล่า เป็นชนิดไหน ผิดปกติมากน้อยหรืออันตรายแค่ไหน

- ตรวจวัดการเคลื่อนไหวของกล้ามเนื้อทรวงอก และกล้ามเนื้อหน้าท้อง ที่ใช้ในการหายใจ

- ตรวจเสียงกรน ดูว่ากรนจริงหรือไม่ กรนดังค่อยแค่ไหน กรนตลอดเวลาหรือไม่ กรนขณะนอนท่าไหน

- การตรวจท่านอน ในแต่ละท่านอนมีการกรนหรือการหายใจผิดปกติแตกต่างกันอย่างไร

การรักษาภาวะนอนกรน

เป็นความเข้าใจผิดที่คนส่วนใหญ่คิดว่าการนอนกรนเป็นเรื่องทั่วๆ ไปที่ไม่จำเป็นต้องรักษา แต่ความจริงแล้วการนอนกรนเป็นเรื่องที่ควรเอาใจใส่ และควรเข้ารับการตรวจรักษาหากมีอาการรุนแรง โดยเบื้องต้นผู้ป่วยสามารถปฏิบัติได้ด้วยตนเองเพื่อบรรเทาอาการ เช่น ควบคุมน้ำหนักไม่ให้เกินเกณฑ์ ออกกำลังกายเพื่อให้ร่างกายและกล้ามเนื้อแข็งแรง หลีกเลี่ยงการนอนหงายโดยพยายามนอนในท่าตะแคงข้างและนอนศีรษะสูงเล็กน้อย หลีกเลี่ยงการดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ หรือยานอนหลับ หรือยากล่อมประสาทก่อนนอน กรณีที่เป็นการนอนกรนชนิดอันตรายที่มีการหยุดหายใจร่วมด้วย ควรเข้าพบแพทย์เฉพาะทางเพื่อรับการรักษาโดยแพทย์อาจเลือกใช้เครื่องช่วย หายใจ Nasal CPAP ซึ่งเป็นเครื่องครอบจมูกขณะหลับ เพื่อช่วยให้หายใจสะดวกขึ้น วิธีนี้ปลอดภัย และได้ผลดีในผู้ป่วยเกือบทุกราย หรือแพทย์อาจรักษาโดยวิธี Somnoplasty คือการจี้กระตุ้นให้เพดานอ่อนหดตัวลง โคนลิ้นหดตัวลง หรืออาจตัดสินใจใช้วิธีการผ่าตัดเอาส่วนที่ยืดยานออก ซึ่งการจะพิจารณาเลือกรักษาโดยวิธีใดนั้น ก็ขึ้นกับความเหมาะสมในแต่ละกรณีไป

ข้อมูลโดย ศูนย์สมองและระบบประสาท โรงพยาบาลเวชธานี
Previous
Next Post »