ต้นแบบแห่งชีวิต







หลายปีมาแล้วฉันเคยถามตัวเอง
ในวันที่ทำงานเหนื่อยแสนเหนื่อย
ฉันเกิดมาเพื่ออะไร
?
ในวันที่ฉันอ่อนเยาว์กับชีวิต ฉันมีอีโก้
ยึดมั่นถือมั่นเหมือนคนในวัยหนุ่มสาวไฟแรงทั่วไป สัมผัสกับการทำงานที่ต้องต่อสู้ แข่งขัน โต้เถียง ขัดแย้ง
ถือตน ถือดี ไม่รู้จักคำว่ายอม
และยึดตัวเองคือศูนย์กลางแห่งจักรวาล
สิ่งที่ได้มาฉันชนะในงาน
แต่พ่ายแพ้ในชีวิต
ฉันเดินถึงเป้าหมายแต่กลับไร้ความสุขที่ปลายทาง

ฉันเริ่มหยุดเดิน...หยุดมอง...และหยุดคิด
เมื่อวันหนึ่งฉันได้เห็นภาพของพระองค์
ภาพนี้


ไม่มีคำพูดใดๆนอกจากน้ำตาไหล
ฉันเริ่มมองตัวเองใหม่อีกครั้ง
และครั้งนี้ฉันเห็นภาพตัวเองชัดเจนเป็นครั้งแรก
พระองค์คือต้นแบบแห่งชีวิตที่เติบโตของฉัน

การได้เรียนรู้โลกเหมือนโจทย์ที่แก้ได้ยากเย็น
แต่คำตอบของโจทย์ข้อนี้
อยู่เพียงปลายจมูกที่เรามองผ่านเลยไปทุกวัน



"
การให้" ช่วยคลายใจที่เคยคับแคบ
การรู้จักให้ตัวเองและโปรยหว่านเมล็ดพันธุ์แห่งความสุขให้กับผู้อื่น

สอนให้ฉันเติบโต
ไม่ใช่แค่เติบใหญ่เพียงอายุ
ฉันรักพระองค์
พ่อที่ไม่ได้ให้ชีวิตแต่ทรงให้ความสุขทั้งชีวิตแก่ฉัน
9
เรื่องเล่าต้นแบบแห่งชีวิต...คงช่วยทำให้คุณเติบโตเช่นฉัน

เรื่องเล่าที่๒

เหตุใดจึงไม่โปรดเสวยปลานิล

"เหตุใดจึงไม่โปรดเสวยปลานิล" มีใจความว่า...

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯไม่โปรดเสวยปลานิล ทุกครั้งที่มีผู้นำปลานิลไปตั้งเครื่องเสวย จะโบกพระหัตถ์ให้ย้ายไปไว้ที่อื่น โดยไม่รับสั่งอะไรเลย จนวันหนึ่งมีผู้กล้าหาญชาญชัยกราบบังคมทูลถามว่า เพราะเหตุใดจึงไม่โปรดเสวยปลานิล มีรับสั่งว่า
"ก็เลี้ยงมันมาเหมือนลูก แล้วจะกินมันได้อย่างไร "




เรื่องนี้มีตำนาน เชิญอ่าน ๒o ปีก่อน ราวพุทธศักราช ๒๕๒๔ แรกครั้ง พระจักรพรรดิอากิฮิโต แห่งญี่ปุ่น ยังทรงฐานันดรศักดิ์เป็นมกุฎราชกุมาร ได้ส่งปลานิลทางเครื่องบินจำนวน ๑oo ตัวมาทูลเกล้าฯ ถวายในหลวง ปรากฏว่า เมื่อเดินทางมาถึงเมืองไทย ปลาตายเกือบหมด เหลือรอดแบบใกล้ตายเพียง ๑o ตัว



ในหลวงทรงเป็นห่วงเป็นใยปลานิลเหล่านี้ จึงมีพระราชกระแสรับสั่งให้นำไปไว้ในพระที่นั่ง ทรงเลี้ยงอย่างประคบประหงม ให้อาหารด้วยพระองค์เอง จนปลานิลทั้ง ๑o ตัวรอดชีวิต แล้วปลานิลทั้ง ๑o ตัว ได้สนองพระเดชพระคุณแพร่พันธุ์ไปอีกมากมาย
ตามพระราชประสงค์เป็นอาหารคนไทย ๖๓ ล้านคน มาจนถึงทุกวันนี้
(จากหนังสือ "ลัดดาซุบซิบ")


"เก็บร่ม"

การเสด็จพระราชดำเนินทุกครั้ง แม้จะต้องเผชิญกับแดดร้อนหรือลมแรง ราษฎรก็ไม่เคยย่อท้อที่จะอดทนรอรับเสด็จฯ ให้ถึงที่สุด แม้ฝนจะตกหนักแค่ไหนก็ไม่มีใครยอมกลับบ้าน
ร้อยเอกศรีรัตน์ หริรักษ์ เล่าไว้ในบทความ
"พระบารมีปกเกล้าฯ ที่อำเภอท่ายาง" ตีพิมพ์ในหนังสือ ")๗๒ พรรษาราชาธิราชเจ้านักรัฐศาสตร์" ว่า ครั้งหนึ่งที่โครงการห้วยสัตว์ใหญ่ เมื่อเฮลิคอปเตอร์พระที่นั่งมาถึง ปรากฎว่าฝนตกลงมาอย่างหนัก ราษฎรและข้าราชการที่มาเข้าแถวรอรับเสด็จฯ ต่างเปียกปอนกันหมด แต่ก็ยังตั้งแถวเป็นระเบียบเรียบร้อยอยู่อย่างนั้น



เมื่อพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ เสด็จฯ ลงมาจากเฮลิคอปเตอร์ นายตำรวจราชองค์รักษ์ที่ตามเสด็จฯ ได้เข้าไปกางร่มถวาย ทรงทอดพระเนตรเห็นบรรดาข้าราชการและราษฎร

ที่มายืนตั้งแถวรอรับเสด็จฯ อยู่ต่างก็เปียกฝนโดยทั่วกัน


"จึงมีรับสั่งให้นายตำรวจราชองครักษ์เก็บร่ม แล้วทรงพระดำเนินเยี่ยมข้าราชการและราษฎรที่เข้าแถวรอรับเสด็จฯ โดย ทรงเปียกฝนเช่นเดียวกับข้าราชการ และราษฎรทั้งหลาย
ที่ยืนรอรับเสด็จฯ ในขณะนั้น"





"ถือตนให้น้อยลง และวางชีวิตให้เติบโตถวายพ่อของเรา"

Previous
Next Post »